เผยใบหน้า-ผิวพรรณของ ‘มนุษย์ยุคหิน’ จากDNAในหมากฝรั่งอายุ 6,000 ปี

Spread the love

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก การเปิดเผยใบหน้าของ มนุษย์ยุคหิน เป็นหญิงสาวโบราณที่มีอยู่ในช่วงยุคหินใหม่ ในภูมิภาคสแกนดิเนเวียเมื่อหลายพันปีก่อน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจโครงสร้างใบหน้าผิวหนังสีผิวตาและสีผมจากร่องรอยของ DNA ที่ยังคงอยู่ใน หมากฝรั่งที่เธอเคี้ยวเมื่อ 6,000 ปีที่แล้ว

ทีมนักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อผู้หญิงยุคหินใหม่นี้ว่า “โลลา” (Lola) เธอมีผิวคล้ำ ผมสีน้ำตาลเข้ม และด้วยดวงตาสีฟ้า

ข้อมูลทางพันธุกรรมของโลล่า บ่งบอกว่าเธอมีเชื้อสายที่คล้ายคลึงกับ กลุ่มมนุษย์โบราณที่ล่าสัตว์ และหาของป่าเพื่อเป็นอาหาร

มนุษย์กลุ่มนี้ ใช้ชีวิตบนแผ่นดินใหญ่ของยุโรป มากกว่าในตอนกลางของสแกนดิเนเวียในช่วงเวลานั้นบรรพบุรุษของเธอ อาจจะอพยพจากยุโรปตะวันตกมาทางเหนือ หลังจากธารน้ำแข็งที่ปกคลุมพื้นดินหดตัวลง

สำหรับ “หมากฝรั่ง” ที่โลล่าเคี้ยวแล้ว ทิ้งร่องรอยของDNAไว้ ในความเป็นจริงหมากฝรั่งนั้นคือน้ำมันดินที่ได้มาจากต้นเบิร์ช โดยหมากฝรั่งอายุ 5,700 ปีนี้ถูกพบในเมือง Syltholm บนเกาะ Lolland ทางตอนใต้ของประเทศเดนมาร์ก

รอยฟันที่ประทับอยู่ แสดงว่ามีการขบเคี้ยวหมากฝรั่งชิ้นนี้ ซึ่งอาจจะเป็นการเคี้ยวเพื่อให้อ่อนตัวลงและนำไปใช้งาน เช่นใช้ติดประกอบเครื่องไม้เครื่องมือยุคหินต่าง ๆ หรืออาจจะเคี้ยวเพื่อเป็นยารักษาโรคหรือแก้ปวดฟัน

ทีมนักวิทยาศาสตร์ยังพบร่องรอย DNA ของจุลินทรีย์ที่ก่อโรคปอดอักเสบ และไข้ต่อมน้ำเหลืองโต (Glandular fever) ในชิ้นส่วนหมากฝรั่งดังกล่าว สันนิษฐานได้ว่าเธออาจจะป่วยเป็นโรคดังกล่าว

ดร. เฮนส์ ชรูเดอร์ หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัยระบุว่า “นับเป็นครั้งแรกที่มีการสกัดเอาดีเอ็นเอของมนุษย์โบราณและถอดรหัสพันธุกรรมได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่ต้องใช้สารพันธุกรรมที่มาจากชิ้นส่วนกระดูก”

Robo Tip – ยุคหินใหม่อยู่ในช่วง 10,000 – 4,500 ปีก่อนคริสตกาล เป็นสมัยที่เริ่มมีการบุกเบิกเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในทางตอนใต้ของภูมิภาคสแกนดิเนเวีย ควบคู่ไปกับการเสาะหาและใช้ทรัพยากรจากป่าตามวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม

อ่านต่อ – นักโบราณคดีขุดพบ “มัมมี่แมว” อายุกว่า 4,000 ปี ที่สุสานอียิปต์