แพทย์เตือน ‘โซเชียลมีเดีย’ เป็นสาเหตุที่ทำให้คนป่วยเป็น “โรคซึมเศร้า”มากขึ้น
กรมสุขภาพจิตเตือน ‘โซเชียลมีเดีย’ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนป่วยเป็น โรคซึมเศร้า มากขึ้น
เนื่องจาก มนุษย์มีพฤติกรรมตามธรรมมชาตินั่นคือ ‘การเปรียบเทียบทางสังคม’ (Social Comparison) ซึ่งเป็นความต้องการที่จะ เป็นที่ยอมรับจากผู้อื่น เมื่อไม่ได้ความรู้สึกเป็นที่ยอมรับ จึงเกิดอาการของโรคซึมเศร้าตามมา
ซึ่งสาเหตุจากอาการซึมเศร้าจากการเสพสื่อสังคมออนไลน์มีดังนี้
1. ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเป็นจริงของเพื่อนๆ ใน Facebook ตามปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักจะโพสต์ภาพตัวเอง ที่แสดงวิถีชีวิตสูงกว่าความเป็นจริง ทำให้ผู้ที่เสพสื่อที่รู้ไม่เท่าทันเกิดอาการน้อยใจว่า “ทำไมชีวิตเขาดีจัง เรานี่แย่จังเลยเนาะ”
2.ตกเป็นเหยื่อทางกิจกรรมชีวิตประจำวันของผู้อื่น ในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นคนส่วนใหญ่ดู Vlog กันในยูทูป เช่นฉันใช้เครื่องสำอางค์ยี่ห้อนี่นะ ฉันใช้กระเป๋ายี่ห้อนี่นะ ทำให้เราอยากได้สิ่งของเหล่านี้ตามพวกเขา ทั้งๆที่เราไม่ค่อยมีเงิน ซึ่งการทำตามผู้อื่นแบบไม่ประเมินตัวเองนี้อาจทำให้เราเป็นหนี้เป็นสินได้
3.มักเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของตนเองกับเพื่อนๆ อยู่เสมอ อันนี้คล้ายกับข้อที่ 1 แต่จะต่างกันตรงที่เราจะคอยสอดส่องว่า คนนั้นคนนี้เป็นไงบ้าง ซึ่งการยุ่งกับชีวิตของคนอื่นมากเกินไป ผลที่ได้มาก็คือความทุกข์
นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น แห่งกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ว่า โรคซึมเศร้า สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ หรือโรคซึมเศร้าในเด็ก
อาการของโรคอาจดูคล้ายกับอาการเสียใจทั่วๆ ไป แต่ผลกระทบนั้นรุนแรงและเกิดขึ้นยาวนานกว่า ซึ่งผู้ป่วย คนในครอบครัว หรือคนรอบข้างอาจไม่ทันสังเกตเห็น ที่สำคัญคนส่วนใหญ่ที่ป่วย มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังเป็นโรคซึมเศร้า มารู้อีกทีอาจมีอาการรุนแรงจนเกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว
ปัจจุบันคนไทยมีภาวะเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น สาเหตุเกิดจากปัจจัยการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันที่แสดงออกผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งโรคซึมเศร้านั้นมักเกิดควบคู่ไปกับการคิดฆ่าตัวตาย โดยในแต่ละปีมีการฆ่าตัวตายเฉลี่ย 6 คนต่อปี จากประชากร 1 แสนคน ถือว่าเป็นอัตราที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก
Robo Tip : ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่ามีคนฆ่าตัวตายมากกว่าปีละ 800,000 คน โดยทุกๆ 40 วินาที จะมีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายเฉลี่ย 1 คน