คนที่มียีนกลายพันธุ์ สามารถนอนน้อยคืนละ 4 ชั่วโมง แถมกระปรี้กระเปร่าตลอดวัน

Spread the love

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ Neuron โดยทีมผู้วิจัยระบุว่าคนที่มียีน ADRB1 ชนิดกลายพันธุ์ จะใช้เวลานอนหลับพักผ่อนน้อยกว่าคนทั่วไป คนกลุ่มนี้จะสามารถ นอนน้อย เพียงคืนละ 4 ชั่วโมง และตื่นขึ้นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยไม่รู้สึกอ่อนเพลีย

แม้จะฟังดูเป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการวิจัยออกมา และรายงานว่า พบยีนกลายพันธุ์ชนิดหายากในกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งยีนนี้จะทำให้เซลล์สมองตื่นตัวได้ง่ายกว่าและยาวนานกว่าคนทั่วไป

อย่างไรก็ตาม จำนวนของคนที่มียีนกลายพันธุ์ดังกล่าวมีอยู่น้อยมาก และในปัจจุบันทีมผู้วิจัย พบการถ่ายทอดยีนกลายพันธุ์ดังกล่าวใน 50 สายตระกูลเท่านั้น

นอกจากความสามารถในการนอนน้อยแล้ว คนกลุ่มที่มียีนกลายพันธุ์ยังเป็นคนที่มีบุคลิกภาพกระฉับกระเฉง มองโลกในแง่ดี ทดต่อความเจ็บปวดได้สูง และทำงานหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน และที่สำคัญพวกเขายังมีอายุยืนมากกว่าคนทั่วไปอีกด้วย

นักวิทยศาสตร์ทดลองตัดต่อยีนชนิดนี้ให้กับหนู

การทดลองตัดต่อพันธุกรรมให้หนูมียีน ADRB1 แบบที่กลายพันธุ์เช่นเดียวกับในมนุษย์ ผลลัพธ์ก็คือหนูที่ถูกตัดต่อยีนดังกล่าว จะนอนน้อยลงโดยเฉลี่ยวันละ 55 นาที ซึ่งแสดงว่ายีนกลายพันธุ์ดังกล่าวทำให้วงจรการนอนหลับตามธรรมชาติของคนและสัตว์หดสั้นลง

ซึ่งการนอนน้อยจากการมียีนนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกายแต่อย่างใด ซึ่งปกติแล้วมักส่งผลเสียต่อระบบเผาผลาญและระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อม โรคมะเร็ง รวมทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย

ศาสตราจารย์ ฝู หยิงฮุย ผู้นำทีมวิจัยกล่าวว่า ในอนาคตเราอาจจะผลิตยาที่เลียนเเบบกลไกการทำงานของยีนชนิดนี้ ซึ่งช่วยให้เราสามารถได้อย่างมีคุณภาพในเวลาที่น้อยลง

Robotip – ก่อนหน้านี้ทีมวิจัยของ ศ. ฝู ได้เคยค้นพบการกลายพันธุ์ของยีน DEC2 ที่ทำให้คนเราสามารถจะนอนน้อยลงจากค่าเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อคืน มาเป็นเพียง 6.25 ชั่วโมงต่อคืนมาแล้ว

อ่านต่อ – “ไพรม์อีดิติง” การตัดต่อพันธุกรรมแบบใหม่ ที่ขจัดยีนกลายพันธุ์ก่อโรคได้ 89%