พบไมโครพลาสติก ในอากาศที่ญี่ปุ่น และตอนนี้กระจายไปทั่วโลกแล้ว?!

Spread the love

ทีมวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ยืนยันผลการสำรวจว่าพบ ไมโครพลาสติก เล็กขนาดไมโครลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศของเมืองฟุกุโอกะ นอกจากนี้ยังได้ตรวจพบไมโครพลาสติกจากการเก็บรวบรวมน้ำแข็งที่ปกคลุมต้นไม้ในพื้นที่ภูเขาของคิวชู

แม้ว่าแหล่งข้อมูลจากต่างประเทศจะเปิดเผยว่า ไมโครพลาสติกนั้นมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ตรวจพบไมโครพลาสติกอยู่ในชั้นบรรยากาศในคิวชู ทีมวิจัยมั่นใจว่ามีการเคลื่อนไหวในระดับโลก และทีมวิจัยยังคงศึกษาหาเส้นทางการแพร่และปริมาณไมโครพลาสติกที่มีอยูในอากาศ

ศาสตราจารย์นากาฮามะ โอซามุ และทีมวิจัย ได้เก็บตัวอย่างอากาศและน้ำฝนบนชั้นดาดฟ้ามหาวิทยาลัยแถวทางใต้ของคิวชู ในช่วงเดือนมีนาคม เมื่อนำตัวอย่างอากาศและน้ำมาตรวจสอบโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและเครื่องมืออื่น ๆ ได้รับการยืนยันว่าพบอนุภาคขนาดเล็กของพอลิเอทิลีนและโพรพิลีน

ไมโครพลาสติกที่อยู่ในทะเลนั้นเกิดจาก ขยะพลาสติกที่ลอยอยู่ในทะเลถูกบดขยี้โดยพลังธรรมชาติ เช่นแสงแดดและคลื่น จนมีเศษพลาสติกขนาดเล็กหลุดออกมา มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มม. หรือน้อยกว่า

แม้ว่าไมโครพลาสติกจะได้รับความสนใจจากทั่วโลก เพราะอาจจะนำไปสู่มลพิษทางทะเล แต่งานวิจัยเกี่ยวกับไมโครพลาสติกในชั้นบรรยากาศนั้น ไม่ได้ก้าวหน้าไปซักเท่าไหร่เลย

เมื่อต้นปีที่ผ่านมาทีมวิจัยชาวยุโรป ตีพิมพ์บทความระบุว่า มีการตรวจพบไมโครพลาสติก ในบรรยากาศของเทือกเขาพิเรนีสในฝรั่งเศสที่ระดับความสูงประมาณ 1300 เมตร ที่เราไม่ตระหนักถึงปัญหานี้เพราะว่า ในอากาศ เราไม่สามารถรับรู้ด้วยตาเปล่าได้ และไม่ทราบขอบเขต ปริมาณการเคลื่อนไหว รวมถึงการกระจายตัว ซึ่งต่างจากในทะเล ทำให้ต้องหาวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้น

ในการหาเส้นทางและแหล่งที่มานั้น ศาสตราจารย์นากาฮามะ ให้ความสำคัญกับพื้นที่ในเขตภูเขาที่มีคลื่นความเย็นพัดผ่านเข้ามา คลื่นความเย็นก็จะทำให้น้ำแข็งที่ปกคลุมต้นไม้ละลายและตกลงสู่พื้น เส้นทางคลื่นความเย็นอันไหนที่ส่งผลต่อน้ำแข็งที่ปกคลุมต้นไม้นั้นง่ายต่อการระบุเส้นทาง

ศาสตราจารย์นากาฮามะ กับ ดร. นากาซาว่า ได้ทำการศึกษามลพิษทางอากาศที่มีอยู่ในพื้นที่ภูเขาในคิวชูมาเป็นระยะเวลาประมาณ 30 ปี และยังคงสังเกตเห็นมลพิษข้ามพรมแดนมาอย่างต่อเนื่อง
ส่วนแผนการในอนาคต จะมีการรวบรวมฝนและน้ำแข็งที่ปกคลุมต้นไม้ตามพื้นที่ต่างๆเช่น ยากุชิมะในจังหวัดคาโกชิมะ เทือกเขาคูจูในจังหวัดโออิตะ เกาะเชจูในเกาหลีใต้ เพื่อนำตัวอย่างมาทำการวิเคราะห์ต่อไป

ไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็กเท่าแบคทีเรีย หรือ ไวรัส อาจแทรกเข้าไปในเส้นเลือด นำไปสู่อวัยวะต่างๆ เช่นเข้าไปฝังอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายและก่อให้เกิดโรคมะเร็ง รวมทั้งไมโครพลาสติกอาจเข้าไปสะสมอยู่ในระบบหมุมเวียนโลหิต ทำให้เส้นเลือดอุดตัน ถือเป็นภัยเงียบที่เราควรระวัง

Robo Tip – จากรายงานผลการศึกษาเรื่องไมโครพลาสติกในปลาทู ที่จับมาจากเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง โดยศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จ.ตรัง ซึ่งสุ่มตรวจปลาทู 60 ตัว แล้วพบไมโครพลาสติกลักษณะต่างๆ กัน เฉลี่ยตัวละ 78 ชิ้น

อ่านต่อ –  “ส้ม-กวางตุ้ง” ติดอันดับผักผลไม้ ที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด